พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๖)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๖)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รัชกาลที่6
พระราชประวัติรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  (ประสูติ พ.ศ. 2423 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2468)
มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
           พระราชประวัติ
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2421 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ( สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ในปี พ.ศ. 2431 และต่อมาในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารดํารงตําแหน่งรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ดํารงตําแหน่งรัชทายาทแทน

 พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 6

ด้านการศึกษา

               ในด้านการศึกษา ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งในปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ทั้งยังทรงสนับสนุนกิจการของโรงเรียนราชวิทยาลัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2440 (ปัจจุบันคือโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) และในปี พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

การเปิดโรงเรียนในเมืองเหนือ

                 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชทานนามโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 ซึ่งไม่เป็นเพียงแต่การนำรูปแบบการศึกษาตะวันตกมายังหัวเมืองเหนือเท่านั้น แต่ยังแฝงนัยการเมืองระหว่างประเทศเอาไว้ด้วย[16] เห็นได้จากการเสด็จประพาสมณฑลพายัพทั้งสองครั้งระหว่าง พ.ศ. 2448-2450 พระองค์ได้ทรงสนพระทัยในกิจการโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น โดยพระองค์ทรงบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์ "เที่ยวเมืองพระร่วง" และ "ลิลิตพายัพ"ทั้งนี้ เป้าหมายของการจัดการศึกษายังแฝงประโยชน์ทางการเมืองที่จะให้ชาวท้องถิ่นกลมเกลียวกับไทยอีกด้วย

ด้านการเศรษฐกิจ

                   ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังทรงริเริ่มก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น

ด้านการคมนาคม

                     ในปี พ.ศ. 2460 ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ สายใต้จากธนบุรีเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์ อีกทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม 6 เพี่อเชื่อมทางรถไฟไปยังภูมิภาคอื่น 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น